ความเป็นมาของการนำร่องในประเทศไทย
- ปีพ.ศ. 2218 มีการบันทึกว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ได้เชิญกัปตันจอร์ไวด์ มาเป็นผู้นำร่อง
- ปี พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส ผู้นำร่องได้ทำการนำร่องให้เรือรบฝรั่งเศส
- ปี พ.ศ. 2456 พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำสยาม เริ่มมีข้อบังคับควบคุมการนำร่อง
- ปี พ.ศ. 2478 รัฐบาลไทยซื้อกิจการนำร่องจากชาวต่างชาติมาดำเนินการเอง เพื่อความมั่นคงของชาติ
ความเป็นมาของการนำร่องในประเทศไทย
- 28 ตุลาคม พ.ศ. 2478 วันก่อตั้งนำร่องไทย ดำเนินการนำร่องเขตท่าเรือกรุงเทพ
- ปี พ.ศ. 2509 ดำเนินการนำร่องเขตท่าเรือสัตหีบตามคำร้องขอ อเมริกา
- ปี พ.ศ. 2517 ดำเนินการนำร่องเขตท่าเรือศรีราชา
- ปี พ.ศ. 2535 ดำเนินการนำร่องเขตท่าเรือแหลมฉบัง และเขตท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด
การนำร่องและการท่าเรือ
- ปี พ.ศ. 2478 รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการจัดสร้างท่าเรือ
- ปี พ.ศ. 2490 ได้เปิดดำเนินกิจการท่าเรือ สำนักงานท่าเรือกรุงเทพ
- ปี พ.ศ. 2491 ดำเนินการซ่อมแซมอาคารต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายจากสงคราม พร้อมกับก่อสร้างเพิ่มเติม
- ปี พ.ศ. 2494 รัฐบาลกู้เงินจากธนาคารโลกมาดำเนินการขุดลอกร่องน้ำสันดอนทางเดินเรือ
- ในเดือน พฤษภาคม 2494รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2494 จัดตั้งการท่าเรือแห่งประเทศไทยขึ้น เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม
- ปี พ.ศ. 2509 เกิดวิกฤตการณ์เรือล้นท่า ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับท่าเรือน้ำลึก
- บริษัท เนเดโก ได้ศึกษาเลือกที่บริเวณแหลมฉบังเป็นสถานที่ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก
- บริษัท หลุยส์เบอร์เจอร์ ได้ศึกษาเพื่อพัฒนาท่าเรือสัตหีบเป็นท่าเรือพาณิชย์
- คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สร้างท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบัง
- 9 ตุลาคม พ.ศ. 2516 รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอศรีราชา
- วันที่ 3 มกราคม 2518 ได้มีการประชุมที่จะใช้ท่าเรือสัตหีบเป็นท่าเรือพาณิชย์ (เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันขึ้น จึงได้ชะลอโครงการท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบังไว้ก่อน )
- 12 ธันวาคม พ.ศ. 2519 เรือตรีอุทัย มงคลนาวิน (อดีตเจ้าพนักงานนำร่อง หมายเลข 36) ได้เข้าชี้แจงต่อรัฐมนตรี คมนาคม ที่บริเวณแหลมฉบัง สนับสนุนการสร้างท่าเรือ
- เกิดภาวะความแออัดอย่างรุนแรงในปี 2530 – 2531 ทำให้รัฐบาลได้เร่งรัดได้มีการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งการก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ปลายปี 2533